เพราะชีวิตไม่ได้มีด้านเดียว! ซัมซุงพาเปิดเบื้องหลังความสำเร็จ New Work Tribe กลุ่มคนรุ่นใหม่แนวหน้าของเมืองไทย

เปิดตัวยิ่งใหญ่อย่างเป็นทางการไปเมื่อไม่นานมานี้ สำหรับ “กาแลคซี่ โน้ต 10” สมาร์ทโฟนที่ทรงพลังที่สุด ชูจุดเด่นด้านประสิทธิภาพการใช้งานให้เหนือกว่าทุกสมาร์ทโฟนที่เคยมีมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเร็วในการประมวลผล แบตเตอรี่ทรงพลัง พร้อมปฏิวัตินิยามแห่งปากกาอัจฉริยะ S Pen ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถควบคุมการใช้งานสมาร์ทโฟนได้ง่ายๆ เพียงแค่ตวัดปากกา รวมถึงกล้องถ่ายภาพอัจฉริยะที่ผสานความชาญฉลาดของเทคโนโลยีที่ดีที่สุดเพื่อเก็บทุกภาพแห่งความประทับใจประหนึ่งมืออาชีพ เพื่อตอบโจทย์กลุ่ม New Work Tribe หรือคนรุ่นใหม่ที่ไม่มีเส้นแบ่งระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต

จากการศึกษาพฤติกรรมของและความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย พบว่ากลุ่มคนรุ่นใหม่ หรือ New Work Tribe นี้ชอบกำหนดกฏเกณฑ์ในชีวิตของตนเองใหม่ สามารถผสมผสานการใช้ชีวิตและการทำงานไว้ด้วยกัน พร้อมกับมองหาความสำเร็จที่ไม่ยึดติดกับอุดมคติแบบเดิมๆ สามารถปรับตัวเพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ทำให้ทำงานได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังเติมเต็มในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ไอเดียธุรกิจใหม่ๆ งานอดิเรกที่ชื่นชอบหรือการใช้ชีวิตในทุกรูปแบบ จึงทำให้คนกลุ่มนี้ไปได้ไกล และประสบความสำเร็จรวดเร็ว

ด้วยเหตุนี้ ซัมซุง จึงได้หยิบยกเอาแรงบันดาลใจจากบุคคลที่เรียกได้ว่าเป็น New Work Tribe ที่สามารถสะท้อนไลฟ์สไตล์ของเหล่าเจเนเรชั่นใหม่ว่า… ชีวิตไม่ได้มีด้านเดียว และเราสามารถเติมเต็มด้านอื่นๆ ให้สมบูรณ์แบบด้วยเทคโนโลยี

ครูลูกกอล์ฟ: ลูกกอล์ฟ-คณาธิป สุนทรรักษ์ (เจ้าของสถาบันสอนภาษาอังกฤษ Angkriz / ดีเจ / พิธีกรรายการ Loukgolf’s English Room / นักแสดง / เจ้าของโปรเจคเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม Little Big Green)

A9A03683

อาชีพ “ครูสอนภาษาอังกฤษ” คืองานหลักของลูกกอล์ฟ แต่ในขณะเดียวกันหลายคนรู้จักลูกกอล์ฟในฐานะคนในวงการบันเทิงไม่ว่าจะเป็นบทบาทของนักแสดง พิธีกร ดีเจ และล่าสุดยังมีโปรเจคเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างLittle Big Green ออกมาให้เห็นกัน ทำให้ใครหลายคนนิยามให้เขาเป็นแบบอย่างของความสำเร็จ

“ต้องบอกก่อนว่าทุกบทบาทที่เราได้ทำคือสิ่งที่เรามีแพสชั่น และแน่นอนว่างานสอนภาษาอังกฤษคือสิ่งที่เรามีแพสชั่นด้วยมากที่สุด เนื่องจากเราเริ่มเป็นติวเตอร์ตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษาปี1 จากนั้นก็พัฒนาตัวเองมาเรื่อยๆ จนปัจจุบันเปิดสถาบันสอนภาษา Angkriz มาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ส่วนบทบาทหน้าที่อื่นเปรียบเสมือนความท้าทาย เนื่องจากเรามองว่าตัวเองสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีรอบตัวมาซัพพอร์ตให้เราทำอะไรได้เยอะขึ้น เร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

“เพราะชีวิตของเรา 90 เปอร์เซ็นต์เกี่ยวข้องกับการเขียน ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมการสอน ตรวจงานนักเรียน หรือ Split เป็น 2 หน้าจอเพื่อเช็คคลิป English room แล้วจดบันทึกได้เลยว่าต้องตัดต่อแก้ไขตรงไหนบ้าง ดังนั้นไม่มีเหตุผลอะไรที่เราจะไปใช้สมาร์ทโฟนที่ไม่มีปากกา ในเมื่อสิ่งนี้มันมาช่วยเสริมให้เราใช้ชีวิตได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น”

ครูลูกกอล์ฟยังฝากอีกว่า คนเราสามารถสวมหมวกหลายใบได้ถ้าเราอยากทำ แต่ไม่มีความจำเป็นที่เราต้องไปทำตามคนอื่น ถ้าอยากจะทำหลายอย่าง ต้องเริ่มจากการโฟกัสทีละอย่าง ตัวลูกกอล์ฟเองก็เริ่มทีละบทบาท และเมื่อเราทำบทบาทแรกได้ดี ก็เริ่มไปโฟกัสในการพัฒนาตัวเองด้านอื่นเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการโฟกัสตั้งใจทำสิ่งที่จำเป็นในเวลานั้นๆ และความตั้งใจนี้จะเป็นแรงผลักดันให้เราก้าวต่อไปได้

Riety: ปั๋น-ดริสา การพจน์ (นักวาดภาพประกอบ / นักแสดง / ยูทูปเบอร์)

A9A04013

เชื่อว่าหลายคนรู้จักสาวน้อยคนนี้ในนามปากกา Riety นักวาดภาพประกอบที่ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านปลายปากกามาตั้งแต่อายุ 16 ปี จนได้มีโอกาสร่วมงานกับแบรนด์ระดับโลกตั้งแต่อายุยังน้อย หรือบางคนก็มีโอกาสได้เห็นเธอจากผลงานการถ่ายแฟชั่น ภาพยนต์โฆษณา มิวสิควิดีโอ หรือหนังสั้นต่างๆ

“ด้วยความที่เราวาดภาพเป็นอาชีพหลักมาตั้งแต่เด็ก พอโตมาจึงเริ่มรู้สึกอยากลองเปลี่ยนจากการอยู่เบื้องหลังมาเป็นเบื้องหน้าบ้าง โชคดีที่มีโอกาสได้ไปเล่นโฆษณา มิวสิควิดีโอ และภาพยนตร์อยู่บ้าง เราเลยลองหาเอาสกิลการทำงานหลายด้านที่เคยลองมาประยุกต์ทำช่องยูทูปเพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่เราชอบ ไม่ว่าจะเป็นการรีวิว การบอกต่อความรู้ด้านศิลปะ และเรื่องราวทั่วไป”

“ส่วนตัวรู้สึกว่าอุปกรณ์และเทคโนโลยีใหม่ๆ ถูกพัฒนาขึ้นมาตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อช่วยให้คนทำงานง่ายขึ้น ดังนั้นการที่เราเปิดใจรับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามามันทำให้งานของเราล้ำไปมากกว่าคนอื่น ยกตัวอย่างการทำวิดีโอ Time-lapse เมื่อก่อนเราต้องเข้าโปรแกรมที่จริงจัง เดี๋ยวนี้ใครก็สร้างวิดีโอแบบ Time-lapse ได้ด้วยสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว แต่การที่เราเลือกใช้กาแลคซี่ โน้ต เพราะเราสามารถใช้ S Pen สเกตซ์ภาพเมื่อไรก็ได้ บางครั้งที่เราเดินทางไปสถานที่ต่างๆ ก็พกไปเครื่องเดียวก็ครอบคลุมทั้งการทำงานและไลฟ์สไตล์ที่เราต้องการได้ทั้งหมด”

Bearhug: ซารต์-ปัทมพร ปรีชาวุฒิเดช (คอนเทนต์ครีเอเตอร์ / นักธุรกิจ) และ กานต์-อรรถกร รัตนารมย์ (คอนเทนต์ครีเอเตอร์ / นักธุรกิจ)

A9A03926

สองเพื่อนซี้ ซารต์และกานต์ ผู้ก่อตั้งชาแนลยูทูปแนวไลฟ์สไตล์ชื่อดัง Bearhug ที่ปัจจุบันมีผู้ติดตามกว่า 2.9 ล้านคน โดยมีเนื้อหาหลักเกี่ยวกับการพาไปท่องเที่ยว ไปร้านอาหารอร่อย รวมถึงพาไปเปิดประสบการณ์ในสถานที่ใหม่ๆ

ก่อนหน้านี้ทั้ง 2 คนได้ทำคอนเทนต์ในช่องทางส่วนตัวมาระยะหนึ่ง จากนั้นจึงได้เรียนรู้ว่าพวกเขามีแพสชั่นด้านการท่องเที่ยวและชอบเรื่องเกี่ยวกับอาหารมากที่สุด จึงตั้งใจพัฒนาคอนเทนต์เหล่านี้ให้กลายเป็นจุดแข็งของชาแนล BearHug มาตลอดเกือบ 2 ปี อีกทั้งโชคดีที่ทีมงานทุกคนมีความถนัดที่แตกต่างกันออกไปและเรียนรู้ที่จะพัฒนาตัวเองไม่ให้ตกเทรนด์อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นคนถ่าย คนตัดหรือ หรือแม้แต่ตัวซารต์และกานต์ที่อยู่หน้ากล้อง

จนถึงวันนี้ ทั้งซารต์และกานต์ได้ดึงเอาพื้นฐานความชอบที่มีมาเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจเกี่ยวกับอาหารที่เพิ่งเริ่มได้ไม่นาน และการที่ทั้ง 2 คนสามารถทำงานไปพร้อมกับการใช้ชีวิตแบบนี้ได้ พวกเขาเห็นตรงกันว่าเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างมากจนซารต์กล่าวว่า “ระยะหลังมานี้ซารต์แทบจะไม่พกคอมพิวเตอร์เลย เพราะสมาร์ทโฟนเพียงเครื่องเดียวก็สามารถซัพพอร์ตเราได้ทั้งเวลาที่เราทำคลิป รวมถึงเวลาที่เราต้องไปดูแลธุรกิจ มันช่วยปลดล็อกให้ทำอะไรได้มากขึ้นในแต่ละวัน เช่น เซ็นเอกสารแล้วส่งกลับไปที่บริษัท ตัดต่อคลิปเพื่อลงในโซเชียลมีเดีย หรือจดไอเดียที่เรานึกขึ้นก็สะดวกมาก”

สั่งซื้อ Kazz Magazine เล่ม 157 ได้ที่