ป้องกันการนอนกรน ลดโรคระบบประสาท

Couple in bed with lips and moustache
Couple in bed with lips and moustache

หลายคนอาจประสบปัญหการนอนกรน และคิดว่าไม่ได้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ ซึ่งทางมูลนิธิเพื่อโรคระบบประสาทแห่งประเทศไทย ได้ระบุว่า คนที่นอนกรนเสี่ยงต่อการเป็นโรคระบบประสาท โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ รวมไปถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่และกลุ่มวัยทำงานที่ต้องใส่ใจญาติผู้ใหญ่ และตัวเอง เพื่อสามารถหาทางป้องกันและรักษาโรคได้อย่างทันท่วงที และรู้จักสังเกตหรือดูแลตนเองให้ห่างไกลจากการเป็นโรคระบบประสาทก่อนจะเข้าสู่ช่วงสูงวัย

ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ หัวหน้าสาขาวิชาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และประธานมูลนิธิเพื่อโรคระบบประสาทแห่งประเทศไทย กล่าวว่า แม้ว่าโรคทางระบบประสาทจะมีกลุ่มเสี่ยงสูงอยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุ แต่หากคนวัยทำงาน หรือคนรุ่นใหม่ ละเลยต่อการดูแลตนเองก็อาจสุ่มเสี่ยงเข้าสู่ภาวะการเป็นโรคระบบประสาทได้ในอนาคตเช่นกัน ฉะนั้นหากคุณไม่อยากเป็นกลุ่มเสี่ยงก็จะต้องหมั่นตรวจเช็คร่างกายอย่างสม่ำเสมอๆ

woman-running-on-beachพ.อ.พิเศษ ดร.น.พ.โยธิน ชินวลัญช์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านอายุรกรรมสมองและระบบประสาท โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ได้ระบุว่าใครที่มีปัญหาการนอน ไม่ว่าจะเป็นการนอนกรน นอนไม่หลับหรือปัญหาง่วงนอนมากเกินไป ก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตประจำวันได้ ซึ่งที่ผ่านมามีข้อมูลพบว่าการนอนหลับผิดปกติที่พบบ่อย คือ โรคนอนกรน ประมาณ 40% ของผู้ป่วยทั้งหมด ต่อมาจึงเป็นภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ 30 % ซึ่งคนที่มีภาวะนี้มักเริ่มต้นมากจากอาการนอนกรน ซึ่งอาการนอนกรนก็เกิดจากมีเนี้อเยื่อในลำคอมากเกินไปจากพันธุกรรมจนทำให้เกิดการสั่นในขณะนอนหลับ การอุดตันในทางเดินหายใจจากผลข้างเคียงของโรคภูมิแพ้และต่อมทอนซิลโต กล้ามเนื้อหย่อนลงไปจากอายุที่เพิ่มขึ้น โรคอ้วน การดื่มสุรา-ยาบางชนิดที่ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง การสูบบุหรี่ เป็นต้น

123

การนอนกรนออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1.การนอนกรนธรรมดา เกิดจากการอุดกั้นทางเดินหายใจเพียงเล็กน้อย เนื่องจากเวลานอนหลับสนิท กล้ามเนื้อจะคลายตัว รวมทั้งกล้ามเนื้อบริเวณช่องคอด้วย ทำให้ลิ้นและลิ้นไก่ ตกไปทางด้านหลัง โดยเฉพาะในท่านอนหงายทำให้ทางเดินหายใจส่วนนี้ตีบแคบลง อาการนี้ไม่อันตรายแต่คนอยู่ใกล้จะรำคาญ ซึ่งคุณสามารถรักษาได้โดยการควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ใช้คลื่นวิทยุความถี่สูง (Somnoplasty) หรือใช้เลเซอร์ผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อในลำคอที่ขวางทางเดินหายใจ รวมไปถึงการใช้เครื่อง Nasal CPAP ใช่วยขยายทางเดินหายใจช่วงบนขณะหลับ

2. การนอนกรนที่เป็นอันตราย เกิดจากการที่มีทางเดินหายใจแคบมากเวลานอนหลับ จึงทำให้มีเสียงกรนที่ไม่สม่ำเสมอ โดยมีเสียงที่ดังและค่อยสลับกันเป็นช่วงๆ และจะกรนดังขึ้นเรื่อยๆ จนมีช่วงหยุดกรนไปชั่วขณะหนึ่งราว 10 วินาที ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดการหยุดหายใจที่ทำให้เกิดอันตราย เนื่องจากระดับออกซิเจนในเลือดแดงจะลดต่ำลง จนอาจก่อให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น ปอด หัวใจ และสมอง ซึ่งอาการนี้แม้ไม่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตโดยเฉียบพลัน แต่ส่งผลเรื้อรังต่อร่างกาย

การนอนกรนสามารถพัฒนาเข้าสู่ภาวะการหยุดหายใจในขณะหลับ ซึ่งจะทำให้เกิดสภาวะการขาดออกซิเจนที่ค่อยๆ ส่งผลร้ายแก่ร่างกายและการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย ความสามารถในการจำลดลง คุณภาพชีวิตลดลง ไม่มีสมาธิในการทำงาน และมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางระบบประสาท อย่างโรคหลอดเลือดในสมองหรืออาจจะนำไปสู่ภาวะความจำเสื่อมได้ในอนาคต ฉะนั้นคุณควรต้องรีบรักษาอาการนอนกรนก่อนจะทำให้เกิดโรคร้ายในอนาคต