“แมทธิว” แชร์ไว้ให้อ่าน…การแพร่กระจายเชื้อโควิด-19

มีกำลังใจส่งให้ครอบครัว “แมทธิว ดีน” และ “ลีเดีย” ศรัณย์รัชต์ ดีน อย่างล้มหลาม หลังจากที่รู้ข่าวว่าทั้งคู่ป่วยโควิด-19 ซึ่ง ณ ตอนนี้ “แมทธิว-ลีเดีย” ได้พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล

ล่าสุด “แมทธิว” ได้ออกมาแชร์ความรู้ผ่านอินสตาแกรม @matthew.deane1 ที่เป็นเรื่องการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ซึ่งเป็นคลิปพร้อมข้อความที่เข้าใจง่าย ที่เรียกได้ว่าเป็นความรู้และข้อมูลดีๆเกี่ยวกับเชื้อโควิด-19

Flatten the curve เข้าใจคำว่า #SocialDistancing กับ Covid-19 ”การรักษาระยะห่างระหว่างกัน (Social Distancing)” นี่ไม่ใช่เรื่องความรักแต่เป็นวิธีการแก้การระบาดของ Covid-19 ด้วยการหลีกเลี่ยงพื้นที่สาธารณะและจำกัดการเคลื่อนไหวเพื่อพบปะกัน ซึ่งถ้าจะอธิบายด้วยการอ่านอย่างเดียว แนะนำว่าให้ดู original article ของประกอบด้วยดีกว่า เพราะตรงนั้นได้จำลองสถานการณ์ทั้งหมดเป็น animation ไว้ให้ดูด้วย ดูง่าย เข้าใจง่าย อันนี้แนะนำจริงจัง กดสลับไป-มากับหน้านี้ https://www.washingtonpost.com/…/20…/world/corona-simulator/

อย่างที่เรารู้ๆกันว่าหลักการของการติดต่อของไวรัสโคโรน่าคือ ผู้ป่วยสัมผัสโดนใคร คนนั้นก็จะติดและก็จะติดกันไปเรื่อยๆเป็นทวีคูณและก็จะขยายวงกว้างไปตลอดเวลา ซึ่งเมื่อติดแล้วเมื่อหายก็จะมีภูมิคุ้มกันละ ก็ง่ายๆว่า ติดง่ายแต่ติดแล้วก็หายได้ แต่ระหว่างที่ติดเชื้ออยู่นั้น เราอาจเป็นคนแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นๆอีกได้ ซึ่งก็คล้ายๆกับสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยใน article ของ washington post ได้แยกเป็น 4 สถานการณ์ดังนี้

1) ปล่อยอิสระ (Free-for-all) คือไม่ต้องทำอะไร และซึ่งเมื่อเราจำลองกับเมืองขนาด 200 คนด้วยการใส่ผู้ป่วยเข้าไป 1 คน เราก็จะเห็นการแพร่กระบาดของผู้ป่วยออกไปในวงกว้าง ตัวกราฟก็สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แล้วซักพักจำนวนผู้ป่วยก็จะค่อย ๆลดลง ตัวกราฟก็ลดลงเช่นกัน ซึ่งถ้าเป็นไปในลักษณะนี้ การติดต่อกันจะใช้เวลาไม่นาน ซึ่งนี่เป็นตัวอย่างของเมืองขนาด 200 คนและถ้าเป็นสังคมที่มีประชากรหลักล้าน นั้นหมายความว่ากว่ากราฟจะขึ้นไปพีคสุดที่มีคนติดกันหมดทั้งเมืองแล้วถึงจะเริ่มลดลง ซึ่งก็จะใช้เวลานานขึ้นอีกไม่รู้กี่เท่าตัวและนั้นจะเป็นปัญหาของทรัพยากรที่ใช้ในการจัดการว่าเราจะพร้อมแค่ไหนในช่วงที่คนติดพร้อมๆกัน?

2) บังคับกักกัน (Forced or Attempted quarantine) เหมือนๆกับที่ใช้ในหูเป่ย ประเทศจีน คือปิดเมืองไปเลย เมืองไหนมีคนป่วยก็ปิด ห้ามออกไปไหน ซึ่งวิธีนี้ผู้เชี่ยวชาญบอกจะเป็นไปได้ยากกับสหรัฐทั้งในแง่ของการใช้ชีวิตและกฎหมาย และเช่นกันน่าจะยากกับประเทศไทย ซึ่งวิธีนี้เค้าได้วิเคราะห์กันแล้วว่าเป็นไปได้ยาก เพราะว่าช่วงแรกมันจะดูมีประสิทธิภาพดีมาก แต่ไม่นานมันจะเริ่มมีรูรั่วออกมาจะด้วยสาเหตุใดก็ตามและไม่นานนักมันก็จะมีคนป่วยหลุดออกจากจุดกักกันออกไปติดกับคนอื่น และก็จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเหมือนเดิม ซึ่งจะจัดการกับผู้ป่วยได้ช้าออกไปอีกเมื่อเทียบกับแบบแรก… (อธิบาย Slide 3+4 อยู่ comments ครับ)

3) แบบรักษาระยะห่างกันพอประมาณ (Moderate social distancing) ง่ายๆเลยคือ อยากให้คนหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่สาธารณะ อยู่ในที่คนเยอะๆ อยู่บ้าน อยู่กับหมากับแมวให้มากขึ้น หลักการง่ายๆคือเคลื่อนที่กันให้น้อยลงและลดการสัมผัสให้น้อยลง ซึ่งถ้าเป็นลักษณะนี้โอกาสของการแพร่ระบาดของไวรัสก็จะลดลง ซึ่งในแบบจำลองที่ 3 นี้เค้าได้ลองให้คน 1 ใน 4 คนเเคลื่อนไหวไปสัมผัสคนอื่นๆและอีก 3/4 อยู่กับบ้าน ไม่ไปไหน ซึ่งผลที่ได้ก็คือเราจะมีคนที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยเป็นจำนวนมาก ซึ่งที่อิตาลีก็ใช้วิธีนี้อยู่ด้วยการสั่งปิดร้านอาหาร และจีนที่ปิดแหล่งรวมตัวของสาธารณะทั้งหมด และที่อเมริกาก็กำลังจะใช้วิธีเดียวกัน

4) แบบรักษาระยะห่างกันอย่างจริงจัง (Extensive social distancing) ซึ่งวิธีนี้ ก็จะคล้ายๆกับวิธีที่ 3 แต่เค้าลองให้เหลือแค่ 1 จาก 8 คนเท่านั้นยังเคลื่อนที่ไปสัมผัสคนอื่นอยู่ ที่เหลืออยู่กับบ้าน ไม่ต้องออกไปไหน ซึ่งวิธีนี้ได้ผลดีมากเพราะกราฟของผู้ติดเชื้อจะแบนราบมาก และจำนวนของคนที่ติดเชื้อก็จะเป็นไปอย่างช้าๆ ขนานไปกับผู้ที่หายเป็นปกติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะแสดงให้เห็นว่าเราจะสามารถบริหารจัดการของทรัพยากรและเจ้าหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ซึ่งแบบจำลองทั้ง 4 จะให้ผลที่แตกต่างกันไปตามแต่ context ของแต่ละประเทศและสภาพสังคม และจริงอยู่ว่าผลของแบบ #4 จะดีที่สุด แต่ในความเป็นจริงนั้นเรียกว่าทำได้ค่อนข้างยาก ซึ่งในทางกลับกันแบบจำลองที่ 3 ที่เป็นแบบรักษาระยะห่างกันพอประมาณ (Moderate social distancing) ดูจะ realistic มากที่สุด และยังได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการบังคับกักกัน (Forced or Attempted quarantine) ซึ่งถ้าเป็นไปในลักษณะนั้นเราน่าจะสามารถบริหารทรัพยากรและบุคลากรทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

มากไปกว่านั้นในชีวิตจริงมันยังมี factors อีกหลายอย่างที่เราควรจะตระหนักไว้ โดยเฉพาะเรื่องว่าในแบบจำลองทั้งหมดนั้นมันอาจเป็นเพียงแค่แบบจำลองของลูกบอลที่กระทบกันไปมาแล้วก็เปลี่ยนสีไปตามการติดเชื้อ แต่ในความเป็นจริงเราไม่ใช่ลูกบอลและมันยังมีการเสียชีวิตของคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงซึ่งได้แก่คนชราและผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อน ซึ่งนั้นหมายความว่าลูกบอลบางส่วนจะหายไปจากการกระทบและแตะกัน……. ……..และถ้ามันหายไป มันก็ไม่ได้เกิดจากใครนอกจากความดื้อของตัวเราเอง ซึ่งทุกอย่างเริ่มต้นได้ด้วยตัวเรานะ

View this post on Instagram

Flatten the curve เข้าใจคำว่า #SocialDistancing กับ Covid-19 ”การรักษาระยะห่างระหว่างกัน (Social Distancing)” นี่ไม่ใช่เรื่องความรักแต่เป็นวิธีการแก้การระบาดของ Covid-19 ด้วยการหลีกเลี่ยงพื้นที่สาธารณะและจำกัดการเคลื่อนไหวเพื่อพบปะกัน ซึ่งถ้าจะอธิบายด้วยการอ่านอย่างเดียว แนะนำว่าให้ดู original article ของประกอบด้วยดีกว่า เพราะตรงนั้นได้จำลองสถานการณ์ทั้งหมดเป็น animation ไว้ให้ดูด้วย ดูง่าย เข้าใจง่าย อันนี้แนะนำจริงจัง กดสลับไป-มากับหน้านี้ https://www.washingtonpost.com/…/20…/world/corona-simulator/ อย่างที่เรารู้ๆกันว่าหลักการของการติดต่อของไวรัสโคโรน่าคือ ผู้ป่วยสัมผัสโดนใคร คนนั้นก็จะติดและก็จะติดกันไปเรื่อยๆเป็นทวีคูณและก็จะขยายวงกว้างไปตลอดเวลา ซึ่งเมื่อติดแล้วเมื่อหายก็จะมีภูมิคุ้มกันละ ก็ง่ายๆว่า ติดง่ายแต่ติดแล้วก็หายได้ แต่ระหว่างที่ติดเชื้ออยู่นั้น เราอาจเป็นคนแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นๆอีกได้ ซึ่งก็คล้ายๆกับสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยใน article ของ washington post ได้แยกเป็น 4 สถานการณ์ดังนี้ 1) ปล่อยอิสระ (Free-for-all) คือไม่ต้องทำอะไร และซึ่งเมื่อเราจำลองกับเมืองขนาด 200 คนด้วยการใส่ผู้ป่วยเข้าไป 1 คน เราก็จะเห็นการแพร่กระบาดของผู้ป่วยออกไปในวงกว้าง ตัวกราฟก็สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แล้วซักพักจำนวนผู้ป่วยก็จะค่อย ๆลดลง ตัวกราฟก็ลดลงเช่นกัน ซึ่งถ้าเป็นไปในลักษณะนี้ การติดต่อกันจะใช้เวลาไม่นาน ซึ่งนี่เป็นตัวอย่างของเมืองขนาด 200 คนและถ้าเป็นสังคมที่มีประชากรหลักล้าน นั้นหมายความว่ากว่ากราฟจะขึ้นไปพีคสุดที่มีคนติดกันหมดทั้งเมืองแล้วถึงจะเริ่มลดลง ซึ่งก็จะใช้เวลานานขึ้นอีกไม่รู้กี่เท่าตัวและนั้นจะเป็นปัญหาของทรัพยากรที่ใช้ในการจัดการว่าเราจะพร้อมแค่ไหนในช่วงที่คนติดพร้อมๆกัน? 2) บังคับกักกัน (Forced or Attempted quarantine) เหมือนๆกับที่ใช้ในหูเป่ย ประเทศจีน คือปิดเมืองไปเลย เมืองไหนมีคนป่วยก็ปิด ห้ามออกไปไหน ซึ่งวิธีนี้ผู้เชี่ยวชาญบอกจะเป็นไปได้ยากกับสหรัฐทั้งในแง่ของการใช้ชีวิตและกฎหมาย และเช่นกันน่าจะยากกับประเทศไทย ซึ่งวิธีนี้เค้าได้วิเคราะห์กันแล้วว่าเป็นไปได้ยาก เพราะว่าช่วงแรกมันจะดูมีประสิทธิภาพดีมาก แต่ไม่นานมันจะเริ่มมีรูรั่วออกมาจะด้วยสาเหตุใดก็ตามและไม่นานนักมันก็จะมีคนป่วยหลุดออกจากจุดกักกันออกไปติดกับคนอื่น และก็จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเหมือนเดิม ซึ่งจะจัดการกับผู้ป่วยได้ช้าออกไปอีกเมื่อเทียบกับแบบแรก… (อธิบาย Slide 3+4 อยู่ comments ครับ)

A post shared by Matthew Deane Chanthavanij (@matthew.deane1) on

ขอบคุณภาพจาก IG : matthew.deane1

สั่งซื้อ Kazz Magazine ได้ที่