จากซีรีส์ดัง ชวนไขข้อสงสัยกับตำแหน่งนักจดประวัติศาสตร์ของไทย

จากกระแสซีรีส์เกาหลีเรื่อง “Rookie Historian Goo Hae Ryung”  ที่กลายเป็นซีรีส์ฮิตมาแรงอันดับหนึ่งเพียงแค่ออกอากาศได้เพียง 8 ตอน (ตอนละ 35 นาที) ทางช่อง MBC ของประเทศเกาหลี โดยเนื้อเรื่องเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 คูแฮรยอง (รับบทโดย ชินเซคยอง)เป็นนักประวัติศาสตร์หญิงหรือที่รู้จักในตำแหน่งอาลักษณ์ ในช่วงเวลานั้นสตรีเขียนประวัติศาสตร์ไม่เป็นที่ยอมรับ เนื่องจากแนวคิดของขงจื๊อที่หยั่งรากลึกในโชซอน  คูแฮรยองพยายามก้าวผ่านความไม่เท่าเทียมจุดนี้ไปให้ได้ เธอต้องการเป็นนักประวัติศาสตร์อย่างที่เธอฝันและทำให้โลกรู้ว่าทุกคนล้วนเท่าเทียมกัน จึงได้เข้าไปพัวพันกับองค์ชายอีริม (รับบทโดย ชาอึนอู) ผู้เก็บซ่อนความลับของตัวเองในฐานะนักเขียนนิยายรักโรแมนติก

หากเทียบเคียงกับประเทศเกาหลีจากการดูซีรีส์เรื่องนี้แล้ว ทำให้หลายคนอาจจะสงสัยว่าตำแหน่งอาลักษณ์นั้นมีหน้าที่เช่นไรบ้าง และในประเทศไทยนั้นมีตำแหน่งนี้หรือไม่ ไปศึกษากับตำแหน่งนี้กันได้เลย

แต่เดิมประเทศไทยหรือในช่วงที่ยังเป็นสยามประเทศยังไม่มีวิชาชีพ “นักเขียน” แต่มีผู้ทำหน้าที่จดหรือเขียนตามคำสั่งของพระมหากษัตริย์ เรียกกันว่า “กรมพระอาลักษณ์” โดยจะหน้าที่คัดลอกใบบอก (หนังสือแจ้งราชการมาจากหัวเมือง) และหนังสือรายงานข้อราชการเพื่อกราบบังคมทูล ตลอดจนคัดประกาศพระบรมราชโองการ และยกร่างหนังสือพระราชหัตถเลขา เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย แจ้งไปยังหน่วยงานต่างๆ 

ผู้ที่ทำหน้ารับผิดชอบกรมนี้ ปรากฏราชทินนามว่า “สุนทรโวหาร” บ้าง หรือ “สารประเสริฐ” บ้าง โดยในยุคที่ยังไม่มีการพิมพ์ การคัดลอก จารึก หรือบันทึกข้อความต่างๆ ต้องใช้วิธีชุบหมึกเขียน ซึ่งต้องอาศัยลายมือที่สวยงาม และผู้เขียนต้องรักษาความลับในราชการได้ เพราะเรื่องราวที่บันทึกส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องปกปิด 


กรมพระอาลักษณ์จึงเป็นหน่วยงานของผู้ที่รู้หนังสือแตกฉาน มีลายมือสวยงามและเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย โดยวังหลวง วังหน้า และวังหลัง ต่างมีกรมพระอาลักษณ์ของตนเอง อาทิ สุนทรภู่ หรือพระสุนทรโวหาร (ภู่) เป็นเจ้ากรมพระอาลักษณ์ ฝ่ายวังหน้า ในสมัยรัชกาลที่ 4 นั่นเอง

ขอบคุณข้อูลจาก museumthailand รูปจากjanardisney.wordpress,  @mbcdrama_pre

สั่งซื้อ Kazz Magazine เล่ม 156 ได้ที่